1. การตรวจสอบเชื้อโรคหรือแบคทีเรียในน้ำประปา จะสามารถกระทำได้ เฉพาะในห้องปฏิบัติการทดสอบเนื่องจากต้องใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ หลายชนิดร่วมกัน ต้องใช้บุคลากรที่มีความชำนาญงานและผ่านการฝึกอบรม
  2. การตรวจสอบสารละลายในน้ำ หากมีจุดประสงค์เพียงต้องการทราบองศาหรือระดับการเปลี่ยนแปลง ของปริมาณเกลือแร่ในน้ำ (mineralization) ในขณะใดขณะหนึ่ง สามารถใช้เครื่องมือตรวจวัดค่าความนำจำเพาะได้(conductivity meter) แต่ค่าที่วัดได้ไม่ได้บอกให้ทราบถึงชนิดของสารในน้ำ จึงบอกไม่ได้ว่า น้ำนั้นสะอาดปราศจากเชื้อโรคหรือสารพิษ จำเป็นต้องตรวจสอบพารามิเตอร์อื่นๆ ร่วมด้วยเพื่อยืนยัน
  3. โดยคุณสมบัติทางเคมี-ฟิสิกส์ ของน้ำประปา เมื่อผลิตจากโรงงาน สูบจ่ายเข้าสู่ระบบท่อจ่ายน้ำแล้ว จะยังคงรักษาคุณสมบัติของน้ำในสภาวะเดียวกันนี้ ได้จนถึงผู้ใช้น้ำปลายทาง เนื่องจากไม่มีกระบวนการอื่นใดเข้ามาเกี่ยวข้องที่จะสร้างผลกระทบต่อคุณภาพน้ำให้ลดลง ดังนั้นคุณภาพน้ำในระบบเส้นท่อ จึงสามารถอ้างอิงถึงคุณภาพน้ำในโรงงานผลิตน้ำได้ หากท่านสนใจ สามารถดูข้อมูลดังกล่าวได้ที่ www.mwa.co.th ในหัวข้อ ความรู้เรื่องกิจการประปา/คุณภาพน้ำ

ท้ายนี้ขอเรียนว่า สิ่งจำเป็นที่ผู้ใช้น้ำต้องดำเนินการ คือ การดูแลระบบประปาภายในอาคารให้สะอาด อยู่เสมอเช่น ท่อประปาหากเป็นท่อเหล็กที่หมดอายุการใช้งานเป็นสนิม(ปกติอายุการใช้งาน 5 ปี) ควรเปลี่ยนเป็นท่อพีวีซี หากใช้ถังพักน้ำและอุปกรณ์ประกอบอื่นๆ ควรบำรุงรักษาทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอเช่นกันกองวิเคราะห์คุณภาพน้ำ การประปานครหลวง ยินดีที่มีโอกาสได้ตอบคำถามของท่าน และขอยืนยันว่าน้ำประปาสะอาด ปลอดภัย ดื่มได้