ทิศทางและนโยบายการดำเนินงานของ กปน.   

ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด : ก.ย. 2565

กปน. แบ่งเป้าหมายออกเป็น 3 ระยะ คือ

กปน. แบ่งเป้าหมายออกเป็น 3 ระยะ คือ


1. ระยะสั้น (2570)

องค์กรอัจฉริยะเพื่อสร้างคุณค่า (Smart Enterprise for Smart Value) เป็นองค์กรที่มีการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ตลอดห่วงโซ่อุปทาน ทั้งในการบริหารแหล่งน้ำดิบ การผลิต การสูบส่ง-สูบจ่ายน้ำ การให้บริการหน้ามาตรและหลังมาตรวัดน้ำ ตลอดจนมีการใช้เทคโนโลยีในการบริหารจัดการองค์กร เพื่อเป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพสูง ที่สามารถส่งมอบคุณค่าตรงตามความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย


2. ระยะกลาง (2575)

น้ำครบวงจรเพื่อความเป็นเมืองอัจฉริยะ (Smart Water for Smart City) เป็นองค์กรที่มีผลิตภัณฑ์และบริการเกี่ยวกับน้ำที่ครบวงจรและตรงกับความต้องการของผู้บริโภคในแต่ละพื้นที่ที่แตกต่างกัน โดยมีการนำเทคโนโลยีในอนาคต เช่น IoT มาใช้ในการบริหารจัดการผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมให้มีประสิทธิภาพสูงสุด          


3. ระยะยาว (2580)

น้ำสะอาด/น้ำที่เหมาะสมเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี (Smart Life for Smart Living) เป็นองค์กรที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม และคำนึงถึงความผาสุกและประโยชน์ต่อสังคม โดยสนับสนุนความต้องการที่สำคัญของสังคมและประเทศ ทั้งในเรื่องสิ่งแวดล้อม สังคมและเศรษฐกิจในขอบข่ายที่ กปน. สามารถเปลี่ยนแปลงได้ เช่น การพัฒนาพื้นที่ระบบประปาให้เป็น Living Water Museum and Park ในขณะเดียวกันองค์กรก็มีการปรับเปลี่ยนให้เป็นองค์กรที่มีคามยืดหยุ่น มีการกำกับดูแลกิจการที่ดี